ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รถไฟฟ้า บีทีเอส

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (ลำลูกกา-บางปู-ยศเส-บางหว้า-ตลิ่งชัน-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ) (อังกฤษ: Elevated Train in Commemoration of HM the King's 6th Cycle Birthday) หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสรายเที่ยวในปัจจุบัน ยังคงต้องมีการแยกจุดแลกเหรียญและเครื่องให้บริการซื๋อตั๋วอัตโนมัติด้วยเหรียญ

รถไฟฟ้า บีทีเอส เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก รถไฟฟ้ามหานคร โดยเกิดขึ้นจากการอนุมัติของกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรี จำลอง ศรีเมืองเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากขณะนั้นในกรุงเทพมหานครไม่มีระบบขนส่งมวลชนทางราง มีการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหลายระบบ เช่น รถไฟฟ้าลาวาลิน แต่มีแนวโน้มไม่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี ขณะที่การจราจรในกรุงเทพฯ ติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเสรีให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน (ก่อนหน้านี้ การนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึงหลายเท่าของมูลค่ารถ)[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมา กรุงเทพมหานครอนุมัติสัมปทานการก่อสร้างและจัดการเดินรถให้กับบริษัท ธนายง จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)) ของคีรี กาญจนพาสน์ ทีแรกกำหนดให้สร้างอู่ซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่สวนลุมพินี แต่ประชาชนที่ใช้พื้นที่สวนลุมพินีเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำได้รวมตัวประท้วงการเข้าใช้พื้นที่ ว่าขัดต่อพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้างเพื่อเป็นสวนสาธารณะของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการประท้วงขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างรถไฟฟ้าจากโครงสร้างยกระดับลอยฟ้าเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ในที่สุดจึงได้มีการย้ายสถานที่ก่อสร้างอู่ซ่อมบำรุง ไปใช้ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นที่ทำการและสถานีขนส่งสายเหนือเดิม (สถานีหมอชิต) ใกล้กับสวนจตุจักร โดยในช่วงแรกก่อนเปิดทำการ รถไฟฟ้าสายนี้ใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้าธนายง ตามชื่อบริษัทที่ได้รับสัมปทาน

ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย ในการโอนย้ายกิจการรถไฟฟ้าทั้งหมดจากเดิมที่เป็นสัมปทานและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครไปเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยแทน เนื่องจากกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่า กรุงเทพมหานครไม่เหมาะสมที่จะดูแลโครงการใหญ่ ๆ เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ อีกทั้งยังสะดวกเดินรถในส่วนต่อขยายของสายสุขุมวิท ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะไม่ใช้วิธีว่าจ้าง BTSC เข้าไปดำเนินการ แต่จะใช้วิธีการประมูลโครงการแบบ PPP Gross-Cost แบบเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ซึ่งอาจเกิดกรณีผู้ให้บริการอาจไม่ใช่ BTSC อีกต่อไปได้ และยังเพิ่มความสะดวกกับรัฐในการควบคุมค่าโดยสาร และการออกตั๋วร่วมที่จะไม่มีค่าแรกเข้าอีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้บริหารของกรุงเทพมหานครได้ตัดสินใจดำเนินการให้มีการจ้างเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 30 ปี เพื่อทำสัญญาแทนสัญญาเดินรถที่จะหมดอายุในวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 และในวันที่ 11 สิงหาคม 2555 ซึ่งทำให้เกิดความสงสัยจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาลในขณะนั้น และการตอบโต้จากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้าน ประเด็นหลัก คือ เรื่องการได้หรือเสียประโยชน์ของภาครัฐและการได้หรือเสียประโยชน์ของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครซึ่งเรื่องนี้ทำให้บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติอนุญาตให้มีการแจกใบปลิวภายในสถานีรถไฟสถานีต่าง ๆ อีกด้วย จึงนับเป็นครั้งแรกที่มีการตอบโต้ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถึงผลได้ผลเสียในเรื่องนี้และเป็นการโต้ตอบพรรครัฐบาลในขณะนั้นที่ต้องการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาระงับการจ้างเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 30 ปี[ต้องการอ้างอิง]

รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการ 2 สาย คือ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 1 หรือ สายสุขุมวิท (สายสีเขียวอ่อน ระยะทาง 17 กม. เมื่อแรกเปิดให้บริการ และอีก 5.25 กม. สำหรับส่วนต่อขยาย) และ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 2 หรือ สายสีลม (สายสีเขียวเข้ม ระยะทาง 6.5 กม. เมื่อแรกเปิดให้บริการ และอีก 8.17 กม. สำหรับส่วนต่อขยาย)

โดยมีสถานีทั้งหมด 34 สถานี เชื่อมต่อทั้งสองสายที่สถานีสยาม และรวมระยะทางทั้งสิ้น 36.92 กม. ใน พ.ศ. 2555 รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาได้บริการสายสุขุมวิทเชื่อมสายสีลมโดยเดินทางจากสถานีหมอชิตไปยังสถานีสยามและเดินทางต่อไปยังสถานีตลาดพลู

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ทลิงก์ ได้ที่ สถานีพญาไท โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สร้างทางเชื่อมต่อโดยตรงจากสถานีพญาไทของโครงการแอร์พอร์ทลิงก์มายังสถานีพญาไทของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งประตูเครื่องตรวจตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมบริเวณกลางสถานี ทำให้พื้นที่ที่ผ่านเครื่องตรวจตั๋วโดยสารแล้ว (paid area) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะเดียวกันกับสถานีสยาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะต่อรถเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส เคยให้บริการรถโดยสารรับส่งในสถานที่สำคัญบางสถานี หรือที่เรียกว่ารถชัตเทิลบัส (Shuttle Bus) 5 สายดังนี้

โดยบริการรถรับส่งนี้ไม่คิดค่าโดยสาร แต่จำเป็นต้องใช้คูปองซึ่งขอรับได้จากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารที่สถานี เวลาให้บริการคือ 6.30-22.30 น

นอกจากนี้ยังมีเอกชนให้บริการรถรับส่งจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสใกล้เคียงไปยังสถานที่ๆ แต่ละฝ่ายให้บริการอยู่ โดยปัจจุบันมีดังนี้

โดยบริการดังกล่าวไม่เสียค่าบริการ ยกเว้นเส้นทางหมอชิต-อิมแพ็ค เมืองทองธานีจะเก็บค่าโดยสาร 30 บาทต่อเที่ยว เนื่องจากเส้นทางหลักต้องผ่านทางด่วน

สามารถเปลี่ยนไปใช้รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ได้ที่ สถานีช่องนนทรี โดยเชื่อมต่อกับสถานีสาทร ของรถโดยสารด่วนพิเศษและที่สถานีตลาดพลูอีกแห่ง โดยเชื่อมต่อกับสถานีราชพฤกษ์ ของรถโดยสารด่วนพิเศษ

รถไฟฟ้า บีทีเอส ได้ทำโครงการใช้บัตรโดยสารร่วมกันโดยผู้โดยสาร สามารถใช้บัตรโดยสารบีทีเอสสมาร์ทพาส-บีอาร์ที เพียงใบเดียวในการจ่ายเงินค่าโดยสารได้ แต่ไม่สามารถใช้ในการสะสมคะแนนกับบัตรหนูด่วนพลัสได้ หากใช้บริการของบีอาร์ที เนื่องจากเป็นคนละบริษัท โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป สามารถใช้บัตรแรทบิทไปโดยสารบีอาร์ทีได้แล้ว

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในสายสุขุมวิทปัจจุบัน มีเพียงแค่ A-Car และ C-Car เท่านั้น โดยใน 1 ขบวนจะมี A-Car อยู่ที่หัวและท้ายขบวนจำนวน 2 ตู้ และมี C-Car อยู่กลางขบวนรถ 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงเพิ่มได้สูงสุดถึง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตร และมีความกว้าง 3.20 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในสายสีลมปัจจุบัน จะประกอบไปด้วย Tc-Car และ M-Car โดย Tc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ M-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน (แต่ด้วยความสามารถของสถานีสะพานตากสิน ที่ยาวเพียง 115 เมตรนั้น ทำให้รถสามารถพ่วงต่อได้แค่ 5 ตู้ต่อ 1 ขบวนเท่านั้น) มีความยาวอยู่ที่ 87.25 เมตรและมีความกว้าง 3.12 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

แต่ทั้งนี้ เพื่อรองรับเส้นทางที่ยาวเพิ่มขึ้น บีทีเอสซียังได้มีการลงทุนเพิ่มกว่า 3,500 ล้านบาท ใน 2 ส่วน คือ

บัตรโดยสารรถไฟฟ้า บีทีเอส มีการพิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ ตามความเหมาะสม และการโฆษณา ปัจจุบันแบ่งใช้งานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

การเชื่อมต่อบัตรโดยสารมีเฉพาะ บัตรโดยสารบีทีเอสสมาร์ทพาส (BTS Smart Pass)เท่านั้นโดยมีการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเทม จำกัด ที่เป็นบริษัทในเครือบีทีเอสกรุ๊ป จะทำการเปิดตัวบัตรโดยสาร BSS Smartcard ที่เป็นบัตรโดยสารบีทีเอสสมาร์ทพาสเดิมที่สามารถเชื่อมต่อกับบัตรโดยสารของรถไฟฟ้ามหานครของรัฐบาลได้โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเทม จำกัด และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นบัตรเงินสดในการซื้อสินค้ากับร้านค้าที่ร่วมรายการ และระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยบัตร BSS Smart Card จะมีให้เลือกทั้งบัตรโดยสารสำหรับบุคคลธรรมดา, บัตรโดยสารสำหรับนักเรียน นักศึกษา และ บัตรโดยสารสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ เป็นต้น

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เปิดบริการให้บัตรสมาชิกฟรีกับประชาชนที่ใช้บริการในรูปแบบบัตรสะสมคะแนนในนาม บัตรหนูด่วน พลัส ซึ่งสามารถใช้บัตรรับส่วนลด 50 บาท ในการโดยสารเมื่อโดยสารครบ 1,000 คะแนนขึ้นไปซึ่ง 1คะแนนจะได้ต่อเมื่อชำระค่าเดินทาง 1 บาท จึงเท่ากับว่ารถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา จะให้ส่วนลดร้อยละ 5 ทุกครั้งที่ชำระค่าเดินทางครบ 1000 บาท หรือใช้บัตรรับส่วนลดจากร้านค้าต่าง ๆ รวมถึงโรงพยาบาล โรงเรียนสอนพิเศษ ที่ร่วมรายการซึ่งผู้ใช้บริการจำเป็นต้องแสดงบัตรหนูด่วน พลัสก่อนใช้บริการโดยร้านค้าที่ร่วมรายการจะติดสติ๊กเตอร์หนูด่วน ชวนแวะเงื่อนไขการส่วนลดเป็นไปตามร้านค้านั้น ๆ กำหนด หรือใช้คะแนนแลกซื้อสินค้าต่าง ๆ หรือได้สินค้านั้น ๆ ฟรี อาทิ ตํ๋วดูหนัง ผู้มีสิทธิรับบัตรหนูด่วน พลัสจำเป็นต้องใช้บัตรโดยสารบีทีเอสสมาร์ทพาส (BTS Smart Pass) เท่านั้น โดยไม่จำกัดสัญชาติของผู้มีสิทธิรับบัตร

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ให้บริการตรวจสุขภาพฟรี หรือรู้จักกันในคลินิกลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ และยังมีความร่วมมือกับโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล (สะพานควาย) ในการให้บริการตรวจเลือดฟรีหรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจฟรีอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเดิมเงินในบัตรเดินทางตามจำนวนที่บริษัทกำหนด (ที่ผ่านมา 300 บาท) ในบัตรเดินทางประเภท (BTS Rabbit) เท่านั้น ซึ่งทั้งสองโครงการมีปีละครั้ง

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ให้บริการส่วนลดร้านค้าอื่น ๆ ตามประกาศของธนาคารกรุงเทพ สำหรับผู้ที่ใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพที่ใช้ร่วมกับบัตรเดินทางประเภท (BTS Rabbit) รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เท่านั้นโดยจะประกาศเป็นช่วงระยะเวลาเช่นเดียวกัน

การสนับสนุนภาครัฐของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษามีความเหมือนกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลทุกประการยกเว้นไม่มีได้มีรายการรู้รักภาษาไทยในขบวนรถ อย่างไรก็ดีได้มีบริการข่าวสารจากเครือเนชั่น วอยซ์ทีวี และสปริงนิวส์ ทั้งบนรถและชานชาลาสถานีรถไฟแทน

ในส่วนการดำเนินการเพื่อคนพิการมีความแตกต่างกันบ้างเนื่องจากรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาสงวนสิทธิ์คนพิการในการเปลี่ยนสถานีกลางคัน(ห้ามเปลี่ยนสถานี)และมีตั๋วให้ทุกครั้งที่ใช้บริการพร้อมเลขที่กำกับตั๋ว ซึ่งต้องให้คนพิการลงนามกำกับทุกครั้งและเจ้าพนักงานของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาต้องเซ็นกำกับที่ตั๋วทุกครั้งและอาจต้องแสดงตั๋วกับพนักงานรักษาความปลอดภัยก่อนออกจากสถานีต้นทาง เมื่อถึงที่หมายจะมีเจ้าพนักงานหรือพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยรับตั๋วบริเวณทางออกซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจในการเปิดหรือปิดประตูต้องเป็นเจ้าพนักงานของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาเท่านั้น การดำเนินการทั้งหมดจึงใช้เวลามากกว่ารถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลสำหรับในขาไปโดย ณ ปัจจุบันตั๋วมีสี่สีคือสีฟ้าออกที่สถานีกรุงธนบุรี ตั๋วสีน้ำตาลออกที่สถานีสยามตั๋วสีม่วงออกที่สถานีหมอชิต และตั๋วสีเขียวใช้กับสถานีทั่วไป เที่ยวบีทีเอสกับคนพิการ

เนื่องจากบันไดเลื่อนในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสมีความเร็วสูงกว่าบันไดเลื่อนทั่วไป ผู้โดยสารควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

เว็บไซต์ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพระบุว่า รถไฟฟ้าบีทีเอสมีความปลอดภัยสูง นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ไม่พบว่ามีรายงานอุบัติเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] บริษัทฯ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารจึงพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุ รวมถึงจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินไว้ในขบวนรถและบนสถานี รวมถึงจัดเตรียมมาตรการตรวจสอบ การซ่อมบำรุง การปรับปรุงพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังจัดทำคู่มือการใช้ระบบอย่างปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร

ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสได้พัฒนาเข้าสู่ระบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Management System) ตามมาตรฐาน BPM (Best Practice Model) ของ Lloyd Register Rail ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการขนส่งระบบราง และได้เข้าสู่ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001) ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อมาตรฐานสูงสุดในการให้บริการ และมอบความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสารทุกครั้งที่มาใช้บริการ

ในการเดินรถปกติ รถไฟฟ้าทุกขบวนจะใช้ระบบควบคุมรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control: ATC) ซึ่งอยู่ภายใต้ระบบการเดินรถไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic Train Operation: ATO) ที่ความเร็วจำกัดไม่เกิน 80 กม./ชม. และมีระบบป้องกันความผิดพลาดของการเดินรถ (Automatic Train Protection: ATP) เป็นระบบควบคุมระยะห่างระหว่างขบวนรถให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัย รวมถึงควบคุมความเร็วของขบวนรถให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

ห้องโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอสได้รับการออกแบบไม่ให้มีส่วนแหลมคม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้โดยสาร และใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ และยากลุกลามเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในขบวนรถ เช่น เพลิงไหม้ ผู้โดยสารเจ็บป่วยกระทันหัน หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ผู้โดยสารสามารถติดต่อเพื่อแจ้งเหตุแก่พนักงานควบคุมรถไฟฟ้าโดยกดปุ่มรูปกระดิ่งสีเหลือง ที่ติดตั้งไว้บริเวณประตูรถไฟฟ้า

โครงสร้างของสถานีได้รับการออกแบบและก่อสร้างภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารและมาตรฐาน NFPA 130 ว่าด้วยการขนส่งมวลชนระบบราง และได้ติดตั้งระบบป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้ภายใต้มาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ได้แก่ ถังดับเพลิง, สายฉีดน้ำดับเพลิง และระบบฉีดน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ครอบคลุมพื้นที่ของสถานี รวมทั้ง ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบสายล่อฟ้าภายใต้มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (สสวท) และได้ติดตั้งปุ่มหยุดรถไฟฟ้าฉุกเฉิน (กล่องสีเหลือง) เพื่อใช้หยุดการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้า ไม่ให้เข้าหรือออกจากสถานีในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีผู้โดยสารพลัดตกลงราง

รถไฟฟ้าบีทีเอสเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยภายในระบบ โดยได้กำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้สอดคล้องกับนโยบายด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO9001 : 2008 โดยได้แบ่งการบริหารจัดการงานรักษาความปลอดภัยออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่

รถไฟฟ้าบีทีเอสได้จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 394 คน ต่อวัน ปฏิบัติหน้าที่บนสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 34 สถานี ที่อาคารศูนย์บริหารและควบคุมการเดินรถไฟฟ้า โรงจอดและซ่อมบำรุง และลานจอดรถหมอชิต แบ่งการปฏิบัติหน้าที่เป็น 2 ผลัด ผลัดละ 10-12 ชั่วโมง โดยจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำสถานีละ 4 ถึง 10 คน (ขึ้นอยู่กับปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการ) ประจำบนชั้นชานชาลาฝั่งละ 1 คน ตลอดเวลาให้บริการ และบริเวณประตูอัตโนมัติบนชั้นจำหน่ายตั๋ว ฝั่งละ 1 คน ทั้งนี้ ในช่วงเวลากลางวันจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหญิงสถานีละ 1 คน คอยให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่เป็นสุภาพสตรีในกรณีต่างๆ เช่น คอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้โดยสารที่เป็นสุภาพสตรีที่เป็นลมหมดสติ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ จะเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อคอยตรวจตราความเรียบร้อยในขบวนรถไฟฟ้า

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกคน จะต้องผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัย รวมทั้ง ต้องผ่านการอบรบพิเศษเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และวิธีใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยภายในระบบ นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมความรู้พิเศษอื่นๆ เพิ่ม เช่น วิธีช่วยเหลือนำทางคนตาบอด รวมทั้ง เข้าร่วมการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินกับหน่วยงานภายนอกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือผู้โดยสาร

นอกจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารในระบบแล้ว รถไฟฟ้าบีทีเอส ยังได้รับการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ตำรวจและสุนัขตำรวจ (เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย สุนัขตำรวจ 2 ตัว) จากงานตรวจพิสูจน์ กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ตรวจหาวัตถุระเบิดในระบบ

2. เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จากกองกำกับการ 2 ศูนย์สืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ปฏิบัติหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยหรือมิจฉาชีพชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าบีทีเอสยังได้เตรียมพร้อมในการประสานงานเพื่อขอกำลังสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเพิ่มเติม ดังนี้ ตำรวจนครบาลท้องที่ (ที่ใกล้เคียงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส) สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด ศูนย์กู้ชีพเอราวัณ โรงพยาบาลเลิศสิน โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลกลาง ศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพ โรงพยาบาลหัวเฉียว และกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ม. 2 รอ.)

เครื่องตรวจวัตถุโลหะ (Metal Detector/ Guard Scan) ใช้ตรวจหาวัตถุที่มีส่วนประกอบของโลหะ โดยได้ตั้งจุดตรวจไว้ที่ชั้นจำหน่ายตั๋วในเขตชำระเงิน บริเวณใกล้ประตูอัตโนมัติทั้ง 2 ฝั่ง ทุกสถานีใช้สุ่มตรวจกระเป๋าหรือสัมภาระของผู้โดยสาร เพื่อป้องปรามการก่ออาชญากรรมหรือการก่อวินาศกรรมในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส

ระบบตรวจการณ์ (Patrol Management System) รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้นำชุดอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ประกอบด้วย แท่งตรวจการณ์ (Patrol Stick) และจุดตรวจ (Patrol Checker) มาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแต่ละคนตรวจตราความเรียบร้อยของพื้นที่ตามเวลาและจุดตรวจที่กำหนดทั่วทั้งสถานี แล้วรายงานความเรียบร้อย หลังจากนั้นจะนำข้อมูลจากแท่งตรวจการมาประมวลผล เพื่อตรวจสอบรายงานการเดินตรวจการณ์ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแต่ละคน

ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television System หรือ CCTV System) รถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดครอบคลุมพื้นที่สถานี อาคารศูนย์บริหารและควบคุมการเดินรถไฟฟ้า และโรงจอดและซ่อมบำรุง รวมทั้งสิ้น 1,507 ตัว (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2556) โดยมีศูนย์เฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัย (CCTV Security Center) อยู่ที่สถานีสยาม ซึ่งมีพนักงานปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารตลอดเวลาเปิดให้บริการ ทั้งนี้ เมื่อตรวจพบวัตถุหรือบุคคลต้องสงสัย จะประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการทันที และสามารถย้อนดูภาพที่บันทึกไว้ได้ประมาณ 14 วัน

อุปกรณ์ตรวจวัตถุใต้ท้องรถ (Under Vehicle Search Mirror) ใช้ตรวจรถยนต์ทุกคันที่เข้าพื้นที่โรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า เพื่อป้องปรามการก่ออาชญากรรม หรือการก่อวินาศกรรม โดยจุดตรวจจะอยู่บริเวณทางเข้าโรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า

อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมายพนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาจึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด เจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารพลัดตกจากชานชาลา เป็นประตูแบบ Half Height Platform Screen Door หรือประตูครึ่งบาน โดยเป็นรั้วสูง 1.50 เมตร บริเวณขอบชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า งบลงทุน 600 ล้านบาท เพื่อจัดระเบียบการขึ้นลงรถไฟฟ้าบีทีเอสให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผู้โดยสารสูงสุด 7 แสนคนต่อวัน ทำให้เกิดความแออัดและหนาแน่นบริเวณทางเข้?าออกของประตูรถไฟฟ้า โดยสถานีที่นำร่องก่อนคือสถานีสยาม

รายชื่อสถานีที่มีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลา มีดังนี้ สยาม อโศก อ่อนนุช พญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศาลาแดง ชิดลม พร้อมพงษ์ และช่องนนทรี[ต้องการอ้างอิง]

แต่หลังจากเปิดทดสอบได้ไม่นานก็เกิดปัญหาทำให้ระบบควบคุมหลักไม่สามารถใช้การได้ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ระบบควบคุมชุดประตู ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการเดินรถได้ และทำให้ระบบควบคุมการเดินรถทั้งหมดมีปัญหา เบื้องต้นบีทีเอสได้หารือกับบอมบาร์ดิเอร์และได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า จะยุติการทดสอบการใช้งานประตูกั้นชานชาลาก่อน เพื่อหาทางแก้ไขไม่ให้การเชื่อมต่อกับระบบประตูนั้น ทำให้ระบบรถไฟฟ้าล่มอีกเป็นครั้งที่สอง

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ให้บริการโทรทัศน์บนรถไฟฟ้าบีทีเอส ทุกเที่ยว และบริการศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (BTS Tourist Information Centers) ที่บริเวณ สถานีสยาม สถานีพญาไท สถานีสะพานตากสิน และบริการ จุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ซึ่งเป็นบริการของกรุงเทพมหานคร ที่ สถานีสยาม, สถานีหมอชิต,สถานีพร้อมพงษ์ในการออกบัตรประชาชน

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% โดยในปี 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มี?ผู้โดยสาร?ใช้?บริการ?รถไฟ?ฟ้า?เฉลี่ย?ใน?วัน?ทำ?การ?สร้าง?สถิติ?ใหม่?สูง?สุด?เท่ากับ 509,106 เที่ยว?/คน

และผลดำเนินงานบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในรอบบัญชี เมษายน 2554 ถึง มีนาคม 2555 มียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 176,028,556 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นจากงวดปีที่ผ่านมา 21.24% และเมื่อพิจารณาจากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันภาพรวมปรับตัวสูงขึ้น 18.26% เป็น 480,952 เที่ยวคน ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม 2555 นับว่าเป็นวันที่ทุบสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา มีผู้มาใช้บริการถึง 714,575 เที่ยวคน ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสมียอดผู้โดยสารสะสมครบ 2,000 ล้านคนไปเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 หลังเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 14 ปี 9 เดือน

ในช่วงบ่ายของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ทางเว็บไซต์ของนิตยสาร Positioning Magazine ได้มีการลงบทความทางหน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อ "สถานีพร้อมพงษ์" เดิม เป็น "เอ็ม ดิสทริค สเตชัน" (Em District Station) ทั้งนี้ภายในเวลาต่อมาภายในวันเดียวกัน ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาชี้แจงต่อสื่อ ว่าไม่มีนโยบายการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีพร้อมพงษ์ตามที่ได้เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางกลุ่มเชื่อว่า[ต้องการอ้างอิง]การปล่อยข่าวลือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการโฆษณาของห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์ ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่มีกำหนดการเปิดให้บริการในอีกไม่กี่วันหลังจากเหตุการณ์ข่าวลือ เพื่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และที่พูดถึงในวงกว้างจากประชาชน[ต้องการอ้างอิง]


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180